30 พฤศจิกายน 2553

หลวงพ่อปากแดง วัดพราหมณี จ.นครนายก


ปาฏิหาริย์ หลวงพ่อปากแดง

“นครนายก” เดิมมีชื่อว่า “บ้านนา” เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏเป็นที่ดอน ทำนาหรือเพาะปลูกอะไร ไม่ค่อยได้ผลและมีไข้ป่าชุกชุม ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่อื่นจนที่นี่กลายเป็นเมืองร้าง

ต่อ มา พระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกภาษีนาเพื่อจูงใจชาวเมืองให้อยู่ที่เดิมทำให้มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่ม มากขึ้น จนเป็นชุมชนใหญ่และเรียกเมืองนี้กันติดปากว่า “เมืองนายก”

นครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 107 กิโลเมตร ตามถนนเลียบคลองรังสิต สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคู อยู่ที่ตำบลดงละคร แต่ชื่อนครนายกนั้น

ปรากฏ หลักฐาน ในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออก สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในปี พ.ศ.2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรี จนเมื่อพ.ศ.2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง ให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแทน

วัดพราหมณี ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน จ.นครนายก ตั้งอยู่ที่ถนนสาริกา-นางรอง หลักกิโลเมตรที่ 4 ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก

วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2446 ปัจจุบันนี้มีอายุ 100 กว่าปีแล้ว


วัดพราหมณี มีพระประธานศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพนับถือกันอย่างกว้างขวาง มีชื่อว่า ” หลวงพ่อปากแดง ” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 1 เมตร เป็นศิลปะสมัยล้านช้าง จีวรเป็นลายดอกพิกุล พระโอษฐ์แย้มทาสีแดงเห็นชัด ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หลวงพ่อปากแดง”

สิ่ง ที่เด่นสะดุดตา คือ ที่ปากของหลวงพ่อมีสีแดงสด เหมือนมีผู้นำลิปสติกไปทาไว้ ผู้เฒ่าผู้แก่ย่านนั้นยืนยัน ว่าเห็นปากท่านแดงแบบนี้ มาตั้งแต่เกิด แม้แต่ปู่ย่าตายายของผู้เฒ่าเหล่านี้ก็บอกว่าเห็นมาตั้งแต่เกิดเหมือนกัน

พระ ครูโสภณพรหมคุณ หรือ “หลวงพ่อตึ๋ง” เจ้าอาวาสวัดพราหมณี เล่าว่า ตำนานเชื่อกันหลวงพ่อปากแดง เป็นพระพุทธรูปพี่น้องกับหลวงพ่อพระสุก และหลวงพ่อพระใส ที่ประดิษฐานอยู่ที่ จ.หนองคาย ในปัจจุบัน ที่ได้อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ พอมาถึงประเทศไทย ชาวบ้านได้แยกย้ายไปตามวัดต่างๆ ส่วนหลวงพ่อปากแดงนั้น ถูกชาวบ้านอัญเชิญและนำมาหยุดยังพื้นที่ว่างบริเวณที่เป็นวัดพราหมณี ปัจจุบันนี้ จากนั้นก็ลงมือสร้างวัดแล้วก็อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นพระประธานในพระ อุโบสถ

ซึ่งต่อมา หลวงพ่อปากแดง ก็ กลายมาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาว จ.นครนายก จนทุกวันนี้ โดยความเชื่อของประชาชนนั้น ประชาชนที่เดินทางไปเที่ยวน้ำตกสาริกา จะต้องแวะกราบสักการบูชา พร้อมกับบนบานด้วยกล้วยน้ำว้า 9 หวี หมากพลู 9 ชุด พวงมาลัย 9 พวง และน้ำแดง 1 ขวด กันอย่างล้นหลาม พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานให้สมความปรารถนาตัวเอง

วัดพราหมณี ยังคงมีเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ เมื่อครั้งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เลือกบริเวณที่ตั้งของวัดพราหมณีเป็นจุดพักทัพของกองพัน ทหารที่ 37 ซึ่งมีจุดหมายจะไปรวมพลกันที่บริเวณเขาชะโงก (ปัจจุบัน คือ สถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก)

จึง มีทหารญี่ปุ่นล้มตายอยู่ในเขต จ.นครนายก หลายแห่งด้วยกัน ปรากฏว่ามีการค้นพบกระดูกของทหารญี่ปุ่นใกล้วัดพราหมณี ดังนั้น สมาคมทหารสหายสงครามกองพลญี่ปุ่นที่ 37 จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงทหารญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532 ณ วัดพราหมณี

ลักษณะ ทางสถาปัตยกรรม สร้างเป็นศาลาจตุรมุขประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร ด้านหน้าพระพุทธรูปเป็นแท่นหินจารึกอักษรญี่ปุ่น ด้านซ้ายพระพุทธรูปเป็นแท่นหินอ่อน โดยมีการจารึกข้อความไว้อาลัย สดุดีความกล้าหาญ และระลึกถึงไว้ที่ฐานพระพุทธรูป

ป้ายจารึกด้านซ้ายของพระพุทธรูป และแท่นหินบูชาหน้าพระพุทธรูป ดังข้อความโดย สรุปของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดังนี้

“อนุสรณ์ สถานกองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 จัดสร้างโดยสมาคมทหารสหายสงคราม กองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 เมื่อปี 2532 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงดวงวิญญาณของบรรดา ทหารซึ่งสังกัด กองพลทหารญี่ปุ่นที่ 37 จำนวน 7,929 นาย ที่สูญเสียชีวิต ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี 2482-2488″

นอก จากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวภายในวัด ประกอบด้วย วิหารเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งจัดสร้างโดยกลุ่มนักธุรกิจจากไต้หวัน, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, อุทยานการศึกษา มีรูปปั้นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อยู่รอบบริเวณวัด เช่น ช้างพันธุ์แอฟริกา, กวาง, ควายป่า ฯลฯ สวนพักจิตร (สวนต้นไทร) ใช้เป็นที่พักผ่อนทำสมาธิหรือทำกิจกรรมยามว่าง

เลขเด็ดงวดนี้ หลวงพ่อปากแดง เจ้าแม่ตะเคียนทอง ม้าสีหมอก 1 ธันวาคม 2553

หวยงวด 1 ธ.ค.53

ทีเด็ดหวยซอง หวยหลวงพ่อปากแดง


ทีเด็ดหวยซอง ม้าสีหมอก


เลขเด็ดงวดนี้
เลขเด็ด 1/12/10
เลขเด็ด 1 ธันวาคม 2553
เลขเด็ด 1 ธ.ค. 2553
หวยเด็ด 1/12/10
หวยเด็ด 1 ธันวาคม 2553
หวยเด็ด 1 ธ.ค. 2553
เลขเด็ด
เลขเด็ดงวดนี้ เลขเด็ด หวยเด็ด หวยเด็ดงวดนี้ เลขเด็ด1 ธันวาคม 2553 เลขเด็ด1 ธ.ค. 2553 เลขเด็ด1/12/10 หวยเด็ด1 ธันวาคม 2553 หวยเด็ด1 ธ.ค. 2553 หวยเด็ด1/12/10 เลขเด็ดงวดนี้ หวยเด็ดงวดนี้ เลขเด็ดเลขดัง หวยเด็ดเลขดัง เลขเด็ดหลวงพ่อปากแดง หวยเด็ดหลวงพ่อปากแดง ม้าสีหมอก เลขธอส เลขเด็ดออมสิน

28 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุดอยตุง (ปีกุน)


๑๒. เจดีย์พระธาตุดอยตุง (ปีกุน)

รายละเอียด : พระบรมธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บนดอยสูงซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ตามตำนานเล่าว่า สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ก่อนที่จะสร้างพระเจ้าอชุตราชให้ทำทุง (ตุง) มีความยาว 1,000 วา ปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงพระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงได้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม บางตำนานว่าที่มาชื่อดอยตุง เนื่องจากพระมหากัสสปะได้อธิษฐานตุงยาว 7,000 วาไว้ที่ยอดดอยแห่งนี้ พระบรมธาตุดอยตุงได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2513 ได้บูรณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทองค์ปัจจุบันพระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพ สักการะของชาวล้านนา ไทใหญ่ หลวงพระบางและเวียงจันทน์ ทุกปีจะมีงานมนัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3
คำบูชาพระธาตุ : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ว่า 3 จบ) พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรัง มะหาคะมา นะมามิหัง อะระหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ ( ว่า 3 จบ)

27 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุวัดเกตุการาม (ปีจอ)


๑๑. เจดีย์พระธาตุวัดเกตุการาม (ปีจอ)

รายละเอียด : สำหรับผู้ที่เกิดปีจอ พระธาตุประจำปีเกิดคือพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ประดิษฐานพระทันตธาตุที่พระอินทร์นำมาจากพระบรมธาตุที่โทณพราหมณ์ได้แอบซ่อน ไว้ เมื่อครั้งมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแก่เจ้าเมืองต่างๆ ด้วยเหตุที่พระธาตุเจดีย์องค์นี้มนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ ดังนั้นนอกจากมนัสการด้วยการบูชารูปแล้ว ยังสามารถบูชาพระเจดีย์ที่วัดเกตุการาม เชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตย่านการค้าของชาวต่างชาติ ตามประวัติว่าสร้างโดยพญาสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ. 1971 แต่พระเจดีย์ได้พังทลายลงในปี พ.ศ.2121 พระสุทโธรับสั่งให้สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบล้านนา นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระวิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑ์เก็บของใช้พื้นบ้านให้ชม (เปิด 8:00-16:00 น.)
คำบูชาพระธาตุ : ตาวะติงสายะ ปุรัมเม เกสะจุฬามะณี สะรีระปัพพะตา ปูชิตาสัพพะเทวะนัง ตัง สิระสา ธาตุ อุตตมัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

26 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุหริภุญชัย (ปีระกา)


๑๐. เจดีย์พระธาตุหริภุญชัย (ปีระกา)

รายละเอียด : พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นพระธาตุคู่เมือง ลำพูนมาแต่โบราณ มีตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังชัยภูมิของชาวเม็ง ทรงหยุดประทับนั่ง ณ สถานที่หนึ่ง พระยาชมพูนาคราช และพระยากาเผือกได้มาอุปัฏฐาก และมีชาวลัวะผู้หนึ่งนำลูกสมอมาถวาย พระองค์ทรงมีพุทธพยากรณ์ว่า ที่นี่ในอนาคตจะเป็น นครหริภุญชัยบุรี เป็นที่ประดิษฐาน พระสุวรรณเจดีย์ ซึ่งบรรจุธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ในครั้งนั้นพระญาทั้งสองได้ทูลขอพระเกศาธาตุ นำไปบรรจุในกระบอกไม้รวกและโกศแก้วใหญ่ ไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับ ต่อมาในสมัยพระยาอาทิตยราช ผู้ครองเมืองหริภุญชัย (ราว พ.ศ.1420) ได้เสด็จลงห้องพระบังคน แต่มีกาขัดขวางไม่ให้เข้า ภายหลังทรงทราบว่าที่แห่งนั้นเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ จึงทรงให้รื้อวังและขุดพระบรมธาตุมาบรรจุโกศทองคำ และสร้างมณฑปปราสาทเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุหริภุญชัยได้รับการบูรณะเรื่อยมา โดยพระเจดีย์องค์ปัจจุบันบูรณะในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ เมื่อ 500 กว่าปีมาแล้ว ภายในวัดยังมี พระสุวรรณเจดีย์ เจดีย์ยุคแรกในศิลปะหริภุญชัย เจดีย์เชียงยัน เจดีย์เก่าแก่ทรงปราสาทห้ายอด และ หอระฆัง ที่แขวนกังสดาลใหญ่ เป็นต้น ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย น้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนี้จะต้องนำมาจากบ่อน้ำบนยอดดอยขะม้อที่อยู่นอก เมือง ตามธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณ
คำบูชาพระธาตุ : สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐิเสฎฐัง สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะ รัง สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิ ธาตุง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

25 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุพนม (ปีวอก)


๙. เจดีย์พระธาตุพนม (ปีวอก)

รายละเอียด : พระธาตุพนม พระบรมธาตุเจดีย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนสองฝั่งโขง บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก)ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้าตามตำนานว่าก่อสร้างโดย กษัตริย์ห้าองค์คือ พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยานันทเสน พระยาอินทปัด พระยาคำแดง และพระยาสุวรรณภิงคาร พร้อมไพร่พล ในส่วนลวดลายที่เรือนธาตุนั้น ตำนานเล่าว่า ตกแต่งโดยพระอินทร์และเหล่าเทวดา มีแผ่นอิฐที่จำหลักลวดลายเป็นภาพกษัตริย์โบราณ ฝีมือช่างพื้นบ้าน ศิลปะทวารวดี หรือพุทธศตวรรษที่ 13-15 นับว่าเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ของภาคอีสาน พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง ในสมัย พ.ศ.2223-2225 พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) นำราษฎรจากเวียงจันทน์ 3,000 คนมาปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน ต่อมารัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้นอีกเมื่อ พ.ศ.2483 แต่ในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เกิดฝนตกหนักและพระธาตุพนมได้ทรุดพังทลายลง แต่ก็ได้รับการบูรณะโดยภาครัฐและเอกชนเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2522 ในเขตวัดมีบ่อน้ำพระอินทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดของบ่อน้ำที่ใช้น้ำมาเสกน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน งานมนัสการพระธาตุพนมจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 10 ค่ำ ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3
คำบูชาพระธาตุ : ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฏฐิมายะ อุปะริมายะ ทิสายะ กะปะณะคิริสะมิง ปันพะเตมะหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิริสา นะมามิ เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

พระหูยาน กรุใหม่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี


พระหูยาน กรุใหม่ เนื้อชินเงิน วัดพระศรีฯ ลพบุรี พิมพ์เล็ก

พระหูยาน กรุใหม่ เนื้อชินเงิน วัดพระศรีฯ ลพบุรี พิมพ์ใหญ่


พระหูยาน กรุใหม่ เนื้อชินเงิน วัดพระศรีฯ ลพบุรี พิมพ์กลาง

พระกรุต่างๆ ของ จ.ลพบุรี หรือเมืองละโว้ ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังจากอดีตมาจนถึงทุกวันนี้ มีหลายกรุหลายพิมพ์ และสุดยอดแห่งจักรพรรดิ พระพิมพ์นั่งของเมืองละโว้ ที่ทุกคนยอมรับก็คือ พระหูยาน ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีพระเนื้อชินยอดขุนพล ที่มีเรื่องเล่าขานในประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพิมพ์นี้ ด้วยเอกลักษณ์ความอลังการในเรื่องพิมพ์ทรงแห่งพุทธศิลป์อันเป็นอมตะของพระ พิมพ์นี้

พระหูยาน แตกกรุตั้งแต่ปี ๒๔๕๐ ที่พระปรางค์องค์ใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บริเวณเดียวกันกับที่ขุดพบ พระร่วงยืนหลังลายผ้า

พระหูยาน ที่ขุดพบนี้เรียกกันว่า พระกรุเก่า ต่อมาได้มีการขุดพบอีกหลายครั้ง โดยครั้งหลังสุดขุดพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ณ บริเวณเจดีย์ราย หน้าพระปรางค์ เรียกว่า พระกรุใหม่

อย่างไรก็ตาม พระหูยาน ทั้ง ๒ กรุนี้ล้วนเป็น พระพิมพ์เดียวกันทั้งหมด มีรายละเอียดเหมือนกันทุกประการ ต่างกันที่เวลาที่ขุดพบจากกรุ จากการขุดพบครั้งแรก ถึงกรุสุดท้าย ห่างกันถึง ๕๘ ปี

และจากการขุดพบต่างเวลากัน ทำให้สภาพผิวองค์พระ มีความแตกต่างกันด้วย
พระกรุเก่า สีผิวพระจะออกดำ และมีคราบกรุพร้อมดินขี้กรุที่หนาปกคลุมอยู่ สภาพโดยรวมแล้วบ่งบอกได้ถึงความเก่ามีอายุ

ส่วน พระกรุใหม่ มีคราบปรอทสีขาวกว่า ครอบคลุมทั่วองค์พระ ทั้งหน้าหลัง แลดูเหมือนมีอายุการสร้างไม่กี่สิบปี แต่ความเป็นจริง เป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน อายุความเก่าก็เท่ากัน ความแตกต่างของเนื้อหาก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมภายในกรุที่ต่างกัน

พระกรุเก่า ที่ตั้งของกรุอยู่ภายใต้ดิน ในที่ต่ำกว่า ภาชนะที่ใช้บรรจุพระก็ชำรุดเสียหาย ด้วยเหตุนี้องค์พระจึงสัมผัสอุณหภูมิ และความชื้นต่างๆ ได้มาก สภาพผิวของพระจึงมีการแปรเปลี่ยนไปจากสภาพเดิมมากกว่า

ส่วน พระกรุใหม่ พบว่าบรรจุอยู่ในภายในพระเจดีย์ ภาชนะที่บรรจุพระยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ชำรุดเสียหาย องค์พระจึงสัมผัสกับการแปรเปลี่ยนของสภาพและอุณหภูมิน้อย เนื้อพระจึงมีความสมบูรณ์เหมือนเดิมๆ ความแตกต่างผิวเนื้อพระจึงมีน้อย

พุทธลักษณะ พระหูยานทั้ง ๒ กรุนี้ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน อายุการสร้างมากกว่า ๘๐๐ ปี มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์บัวสองชั้นรัศมีแฉก ส่วนพิมพ์จิ๋ว มีน้อยมาก ขึ้นจากเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น

พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่ เป็นปฏิมากรรมศิลปะลพบุรียุคต้น เป็นฝีมือช่างหลวง ที่ได้ถ่ายทอดจินตนาการลงบนองค์พระอย่างละเอียดประณีต วิจิตรบรรจง ด้วยความอลังการสวยงามยิ่ง

องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวเล็บช้างห้ากลีบ เหนือดอกบัวมีเม็ดไข่ปลาเรียงจุดเป็นแถวยาว ๑๔ จุด พระพักตร์ได้รับอิทธิพลมาจาก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่ ปราสาทบายน ในเมืองเขมร มีการเรียกขานกันหลายชื่อ ทั้ง หน้ายักษ์ และ หน้านิยม

ใบหน้าจะแลดูเคร่งขรึม ถมึนทึง ปรากฏรอยยิ้มเล็กน้อย ที่เรียกกันว่า "ยิ้มแบบบายน”
มีไรพระศกเป็นเส้นนูนเว้าโค้งตามรูปหน้า และไม่เชื่อมต่อกับเส้นเกศา มีลักษณะเกศาเป็นเส้นๆ แนวตั้งชัดเจน โดยมีระยะห่างกันพอประมาณ

ปลายพระเกศเป็นแบบฝา พระเนตรมีลักษณะเรียวแหลม ดุจดั่งเม็ดข้าวสารอยู่ในเปลือกตา เป็นเส้นนูนสวยงาม

พระขนง (คิ้ว) ทั้งสอง โค้งแบบปีกกา เป็นเส้นนูนเชื่อมต่อกันทั้งเส้น ลำตัวและท่อนแขนแสดงถึงความบึกบึน เข้มขลัง เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นคู่ขนานจากหัวไหล่ซ้าย มาสิ้นสุดบริเวณเหนือพระอุทร (หน้าท้อง) ขนาดองค์พระกว้าง ๒.๗ ซม. สูง ๕.๕ ซม.

ตำหนิที่สังเกตได้บริเวณแก้มองค์พระซ้ายมือ มีเส้นนูนแตกยาวเล็กๆ พาดจากเปลือกตาซ้าย ยาวลงมาถึงมุมปากซ้ายด้านล่าง เข้าใจว่าเกิดจากบล็อกแม่พิมพ์ชำรุด เกิดเส้นนูนรอยแตกเป็นตำหนิขึ้นมา สามารถจดจำเป็นจุดตายในการพิจารณาพระได้ดีจุดหนึ่ง

พระพิมพ์ใหญ่ องค์ในภาพ มีคราบไขปรอทขาว ออกสีเหลืองทอง ปกคลุมองค์พระบางๆ แลดูแวววับ มีประกายสวยงาม ศัพท์ในวงการพระเรียกว่า คราบปรอทน้ำทอง จะมีปรากฏไม่เสมอไป มีเป็นกรณีพิเศษเพียงบางองค์เท่านั้น

ส่วนพระหูยาน พิมพ์กลาง พระพักตร์มีความแตกต่างจากพิมพ์ใหญ่ ลักษณะใบหน้าจะก้มหน้าเล็กน้อย และลดความเข้มขรึมดุดันลง

เส้นเกศาระยะห่างจะเบียดแคบ และชิดกว่า บริเวณหน้าอกด้านขวามือองค์พระ จะปรากฏเส้นพิมพ์แตกขวางอยู่ ลักษณะคล้ายกากบาท จึงตั้งชื่อพิมพ์ตามลักษณะนี้ว่า “พิมพ์กลาง อกกากบาท”

เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมาก รองจากพิมพ์ใหญ่ ปกติขนาดองค์พระมีขนาดย่อมกว่าพิมพ์ใหญ่ ทั้งส่วนสูงและความกว้างเล็กน้อย แต่พระพิมพ์กลางองค์ในภาพนี้มีความสูงกว่า เพราะมีเนื้อเกินปลายแหลมยอดด้านบน ตอนเทเดิมติดมา ไม่ได้ตัดออก มีขนาดกว้าง ๒.๕ ซม. สูง ๕.๘ ซม.

พระหูยาน พิมพ์เล็ก พระพักตร์มีลักษณะยาว เรียวเล็ก ความคมชัดของพระพักตร์ปานกลาง อยู่ในลักษณะก้มลงเล็กน้อย ไรพระศกมีลักษณะเป็นปื้น รวมกับเส้นเกศา แลดูเป็นเนื้อนูนๆ เท่านั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดของเส้นเกศา พระหูยาน ทั้ง ๒ พิมพ์ที่กล่าวมาแล้ว ยอดขมวดมวยผมองค์พระด้านบน รวมกับเนื้อพระที่มีเหลือเกินตอนเทหล่อส่วนบน มีลักษณะแหลมยาวขึ้นไปด้านบน ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์เล็กว่า พระหูยาน พิมพ์เศียรแหลม

เนื้อหาพระพิมพ์เล็กองค์ในภาพนี้ มีคราบไขปรอทขาว ออกเขียวเข้มอมทอง ปกคลุมเต็มผิวองค์พระ คราบปรอทสีอมเขียว ลักษณะแบบนี้ มีเป็นเพียงบางองค์เท่านั้น ทำให้องค์พระแลดูคลาสสิก สวยงาม มีค่านิยมยิ่งขึ้นไปอีกแบบ องค์พระมีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา กว้างประมาณ ๒.๒ ซม. สูง ๕.๒ ซม.

ด้านหลังองค์พระทั้ง ๓ พิมพ์นี้ มีลักษณะแอ่นเว้าเข้าด้านในเล็กน้อย และมีลายผ้าปรากฏอย่างชัดเจน สวยงาม

ราคาเช่าหา พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์ใหญ่ สภาพทั่วไปเช่าบูชากันที่ ๒-๓ แสนบาทขึ้นไป ถ้าสภาพสวยงามคมชัด คราบปรอทขาวน้ำทองวาววับ ราคาอยู่ที่หลักแสนกลางขึ้นไปถึงหลักแสนปลาย

พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์กลาง สภาพปานกลางราคาอยู่ที่หลักแสนต้น ถึงหลักแสนปลาย ถ้าสภาพสวยแชมป์ มีเงิน ๓ แสนกว่ายังหาของไม่ค่อยพบ

ส่วน พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์เล็ก สภาพปานกลางอยู่ที่หลักหมื่นปลาย ถึงหลักแสนต้น สภาพสวยสมบูรณ์ อยู่ที่หลักแสนต้น ถึงหลักแสนกลาง อยู่ในราคาที่เหมาะสมสำหรับนักสะสมเนื้อชินเงิน ที่ชอบพระตระกูลหูยาน เช่าหาพิมพ์เล็กไว้ใช้บูชาขึ้นคอ ในราคาเบาๆ แทนพิมพ์ใหญ่ได้ สบายใจในพระพุทธคุณ

พระหูยาน กรุใหม่ ส่วนใหญ่มีความงดงามอลังการและคมชัดกว่าพระกรุเก่า แต่ในด้านพุทธคุณเหมือนๆ กัน คือ เป็นพระเครื่องประเภทแคล้วคลาด ปลอดภัย คงกระพันชาตรี และดีเยี่ยมด้านมหาอุดหยุดได้ ซึ่งมีประสบการณ์มาแล้วอย่างโชกโชน ชนิดที่เชื่อถือได้ทุกประการ

24 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุดอยสุเทพ (ปีมะแม)


๘. เจดีย์พระธาตุดอยสุเทพ (ปีมะแม)

รายละเอียด : พระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ การประดิษฐานพระบรมธาตุเจดีย์บนเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองมีขึ้นราวปี พ.ศ. 1916 สมัยพญากือนา (พ.ศ.1898-1928) ในยุคทองของล้านนา พระองค์ได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยมาเชียงใหม่ พระสุมนเถระจึงอัญเชิญพระบรมธาตุที่พบเมืองปางจามาด้วย พระบรมธาตุนี้ได้ทำปาฏิหาริย์แยกเป็นสององค์ องค์หนึ่งประดิษฐานที่วัดบุปผาราม อีกองค์หนึ่งพญากือนาได้อาราธนาสถิตเหนือช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายที่ ประดิษฐาน ช้างมงคลเดินขึ้นมาถึงยอดดอยสุเทพ แล้วร้องสามครั้ง ทำทักษิณาวรรตสามรอบ และล้ม ( ตาย) ลง ภายหลังอัญเชิญพระบรมธาตุลงมา พญากือนาให้ขุดหลุมประดิษฐานพระบรมธาตุและก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ต่อมาปี พ.ศ.2081 สมัยพระเจ้าเกษเกล้าได้ก่อเป็นพระเจดีย์สูงใหญ่สีทองเช่นทุกวันนี้ มีความเชื่อว่าหากบูชาพระธาตุในทิศทั้งสี่แล้วจะทำให้มีสติปัญญาดี สมัยก่อนในวันวิสาขบูชามีประเพณีการขึ้นพระธาตุ โดยชาวบ้านจะเดินลัดเลาะป่าขึ้นสู่องค์พระธาตุ
คำบูชาพระธาตุ : โมกขะปะฐะมะวะรัง อะปายะนิวะระณัง อะระหัง สัคคะโสปาณังฯ ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตุวา ปัตตะจีวะรัง ยัง ยัง ชาตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉา สวาตะฯ สุวัณณะ เจติยัง เกศาวะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุง สุเทวะนามะทัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ ปัญญะวะ อัสสะมิงะยะวะ จันทิมา อิวะ ธาระยัง ปิฏะกัตตะ เย สาสะนะนัช ยานิเกติฯ

23 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง (ปีมะเมีย)


๗. เจดีย์พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง (ปีมะเมีย)

รายละเอียด : สำหรับผู้ที่เกิดปีมะเมีย สามารถเดินทางไปมนัสการพระบรมธาตุเมืองตากแทนพระธาตุชเวดากองที่ประเทศพม่า ได้ เนื่องจากเป็นเจดีย์ที่พระครูพิทักษ์ (ทองอยู่) ได้จำลองแบบมา จากพระธาตุชเวดากองโดยครอบพระธาตุเจดีย์องค์เดิมไว้ ในตำนานพระเจ้าเลียบโลกได้กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุเจดีย์ที่วัดนี้ ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเมืองตากจนมาถึงดอยมหิยังคะที่ร่มรื่น และทรงมอบพระเกศาธาตุให้พระอรหันต์ พร้อมทั้งรับสั่งว่า หลังจากที่เสด็จปรินิพานแล้วให้นำพระเกศาธาตุมาบรรจุไว้ที่นี่ พระบรมธาตุเจดีย์เมืองตากจึงเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ ในวันขึ้น 14 และ 15 ค่ำ เดือน 7 ( ปลายเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) ของทุกปี จะมีงานพิธีสมโภชและสักการะพระบรมธาตุ เรียกว่า งานประเพณีขึ้นพระธาตุเดือนเก้า
คำบูชาพระธาตุ : ชัมพุทีเป วะระฐาเน ลิงคุตตะเร นะโมรัมเม สัตตะระตะนะปะฐะมัง กะกุสันธัง สุวัณณะทัณทัง ธาตุโยฐัสสะติ ทุติยัง โกนาคะมะนัง ธัมมะกะระนัง ธาตุโย ฐัสสะติ คะติยัง กัสสะปัง พุทธะจีวะรัง ธาตุโย ฐัสสะติ จะตุตภัง โคตะมะ อัฏฐเกสะ ธาตุดย ฐัสสะติ ปัญจะมัง อะริยะเมตเตยโย อะนาคะเต อุตตะมังคะ ธาตุโยอะหัง วันทามิ ทูระโต

22 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุศรีมหาโพธิ์ (ปีมะเส็ง)


๖. เจดีย์พระธาตุศรีมหาโพธิ์ (ปีมะเส็ง)

รายละเอียด : พระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นที่ประทับและตรัสรู้สัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ณ พุทธคยา สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่อว่าต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงเกิดเป็นประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์และเครื่องประกอบพิธีกรรมใต้ต้นโพธิ์ สำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็งที่มีพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิด สามารถบูชาต้นโพธิ์ตามวัดแทนได้ โดยที่วัดมหาโพธาราม เชียงใหม่นี้ เป็นวัดสำคัญที่มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก และพระเจ้าติโลกราชผู้สร้างวัด ทรงให้นำต้นโพธิ์จากลังกามาปลูก พร้อมทั้งจำลองสัตตมหาสถาน คือสถานที่ 7 แห่งที่พระพุทธเจ้าได้เสวยวิมุตติสุขก่อนเผยแผ่ศาสนา ได้แก่ ปฐมโพธิบัลลังก์ คือต้นโพธิ์ที่ประทับตรัสรู้ อนิมิตเจดีย์ คือที่ที่พระพุทธเจ้าประทับทอดพระเนตรต้นโพธิ์หลังตรัสรู้ รัตนจงกลมเจดีย์ คือที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดินจงกรม 7 วัน รัตนฆรเจดีย์ คือที่ที่พระพุทธเจ้าพิจารณาพระอภิธรรม อชปาลนิโครธเจดีย์ คือต้นไทรที่พระพุทธเจ้าประทับ มุจลินทเจดีย์ คือที่ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นจิก ใกล้สระมุจลินท์ ราชายตนเจดีย์ คือต้นเกตุที่พระพุทธเจ้าประทับที่สำคัญคือเจดีย์ประธานของวัดที่จำลองแบบ จากเจดีย์พุทธคยา มีลายปูนปั้นรูปเทวดาซึ่งงดงามมากที่ผนังด้านนอกของห้องคูหาส่วนฐานพระ เจดีย์
คำบูชาพระธาตุ : ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยัง อะนิมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะ เสฎฐัง จะตุตกัง ระตะนะฆะรัง ปัญจะมัง อะชะปาละนิโคธัง ฉัฏฐัง ราชายะตะนัง สัตตะมัง มุจ จะลิทัง อะหัง วันทามิทูระโต

21 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุเจดีย์พระสิงห์ (ปีมะโรง)


๕. เจดีย์พระธาตุเจดีย์พระสิงห์ (ปีมะโรง)

รายละเอียด : พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ในตำนานสิหิงคนิทานและพงศาวดารโยนก เล่าประวัติว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไป 700 ปี พระเจ้าสีหลและกษัตริย์องค์อื่นใคร่ทอดพระเนตรรูปของพระพุทธเจ้า มีแต่พญานาคที่เคยเห็นพระองค์ จึงแปลงรูปเนรมิตตนเป็นพระพุทธเจ้า พระเจ้าสีหลได้กระทำการบูชา7 วัน 7 คืน และให้ช่างถ่ายแบบพระพุทธรูปไว้ ต่อมาพระร่วงแห่งสุโขทัยได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธสิหิงค์ ใคร่จะได้บูชา จึงบอกกับพระเจ้าสิริธรรมแห่งเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าสิริธรรมได้ส่งทูตไปขอจากลังกา อัญเชิญไปให้พระเจ้าสุโขทัย ต่อมาพระพุทธสิหิงค์ถูกอัญเชิญไปยังเมืองสำคัญจนกระทั่งราวปี พ.ศ.1983 เจ้ามหาหรพมได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากกำแพงเพชรมาถวายพญาแสนเมืองมาแห่ง เชียงใหม่ เดิมพญาแสนเมืองจะให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบุปผาราม แต่เมื่อรถที่อัญเชิญมาถึงหน้าวัดลีเชียงพระ (ชื่อเดิมวัดพระสิงห์) รถเกิดติดขัดไม่สามารถชักลากไปได้ จึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดนี้ ในปี พ.ศ. 2063 พระเมืองแก้วได้สร้าง วิหารลายคำ เพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ภายในวิหารมีภาพวิจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องสังข์ทอง ฝีมือช่างล้านนา และเรื่องสุวรรณชาดก ฝีมือช่างภาคกลาง ในช่วงสงกรานต์ของทุกปี มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบก แห่แหนรอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำสักการะ
คำบูชาพระธาตุ : นะมามิ สิหิงคะพิมพัง สุวัณณาริริมมัง ลังกาชาตัง โสภาภิโสภัง สะราภิกันตัง นมามิหัง

20 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุแช่แห้ง (ปีเถาะ)


๔. เจดีย์พระธาตุแช่แห้ง (ปีเถาะ)

รายละเอียด : พระธาตุแช่แห้งตั้งอยู่บนยอดดอยขนาดเล็ก นอกเมืองน่าน มีเรื่องราวเล่าว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงภูเพียงแซ่แห้ง และพบกับพระอมละราชและพระมเหสี ที่มาสรงน้ำที่เดียวกับที่พระองค์สรงน้ำอยู่ พระอมละราชได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำ แต่ผ้านั้นกลายเป็นทองคำ พระอานนท์จึงขอพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์นำไปเก็บในอุโมงค์พร้อมผ้าทอง โดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง 7 ศอกไว้ด้านบน ต่อมาราว พ.ศ.1896 สมัยพระยากานเมือง ได้ส่งช่างไปร่วมสร้างวัดหลวงที่สุโขทัย พระยาลือไทจึงมอบพระบรมธาตุ 7 พระองค์ และพระพิมพ์คำ พระพิมพ์เงินอย่างละ 20 องค์ ให้พระยากานเมือง ซึ่งได้นำไปบรรจุไว้ที่ภูเพียง และพบพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุข้อมือข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงให้ทำอุโมงค์ประดิษฐานพระบรมธาตุใหม่ และก่อพระเจดีย์เป็นพระธาตุแช่แห้งคู่เมืองน่านมาจนทุกวันนี้ ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ทางวันมีการจัดงานมนัสการพระธาตุแช่แห้ง ในงานมีมหรสพ การแห่ตุงถวายพระบรมธาตุ และการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาตามธรรมเนียมดั้งเดิม
คำบูชาพระธาตุ : ยา ธาตุภูคา อะตุลานุภาวา จิรัง ปะติฏฐิตา นันทะกัปปะเก ปุเร เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะธาตุง จิรัง วันทามิ หันตัง ชินะธาตุโยโส ตะถาคะตัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต

19 พฤศจิกายน 2553

ตำหนิเอกลักษณ์ พระเครื่องเบญจภาคี


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
  1. พระเกศค่อนข้างเขื่อง
  2. พระพักตร์เกือบกลมพระกรรณขวามักติดรำไรเห็นเป็นลำโค้ง จรดบ่า
  3. มีลำพระศอ
  4. ยอดซอกแขนซ้ายองค์พระจะสูงกว่ายอดซอกแขนขวา
  5. รอยจีวรที่พาดจากแขนลงมาที่เข่า
  6. เข่าแม้จะสึกเลือนแต่ยังคงเห็นร่องรอยการทับซ้อนของเข่าซ้ายเหนือเข่าขวา
  7. โปรดสังเกตเส้นแซมใต้หน้าตัก
  8. ฐานชั้นกลางเปนฐานขาสิงห์ขอบบนจะนูนและพับเข้า


พระรอดพิมพ์ใหญ่

พระรอดได้ชื่อว่าเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในกระบวนพระเครื่องเมืองไทย มีอายุราว 1 พันปี ซึ่งพระนางจามเทวีพระธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ผู้เสด็จขึ้นไปครองเมืองลำพูนเป็นผู้โปรดให้สร้างขึ้นบรรจุในวัดมหาวันพระรอดเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี พบที่กรุวัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพระคง พระบางและพระเปิม คำว่า "รอด" เป็นภาษาเหนือแปลว่า "เล็ก"

ลักษณะของพระรอด

เป็นพระประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย บนฐานเขียงใต้ปรกโพธิ์ ผิวพระพบบ่อยๆว่าจะเหี่ยวย่น สืบเนื่องมาจากพระคายน้ำตอนเผาไฟพระพักตร์ก้มเล็กน้อยรายละเอียดของพระพักตร์คล้ายศิลปะพม่าหรือพุกามเป็นพระศิลปะยุคเดียวกับทวาราวดีตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖

ตำหนิเอกลักษณ์
  1. พระศกคล้ายฝาชี พระเกศสั้นจิ่ม
  2. พระพักตร์สอบเสี้ยม พระเนตรโปนโตพระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์วาดโค้ง
  3. มีเส้นนำตาดิ่งจากยอดพระกรรณ ลงมาจรดใบโพธิ์
  4. ปลายพระกรรณซ้ายมือองค์พระหักวกเป็นตัววี
  5. ต้นแขนขวาขงองค์พระจะเล็กคล้ายพระคงแต่จะน้อยกว่า
  6. พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
  7. ขอบจีวรตรงอกจะนูนหนา
  8. ปลายนิ้วทั้ง ๔ จรดฐานส่วนนิ้วหัวแม่มือขวาที่พาดตักจะขาด
  9. เส้นน้ำตกใต้แขนซ้าย มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุดและในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกบางๆในแนวเดียวกัน
  10. แขนซ้ายองค์พระจะหักมุมเป็น ๒ส่วน
  11. เส้นแซมใต้ฐานอาสนะชั้นที่ ๑
  12. ฐานอาสนะมี ๓ ชั้น ชั้น ๒ และ ชั้น ๓ บางทีติดกันโดมีร่องตื้นๆขั้นกลาง
  13. รอยกดพับที่ก้นฐานและมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากการดันพระออกจากพิมพ์
  14. ในพระรอดพิมพ์ใหญ่ จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆปรากฎอยู่

พระผงสุวรรณพิมพ์หน้าแก่

  1. พระเกศเป็นหน่อคล้ายหมวกฤาษี
  2. พระเนตรขวาองค์พระจะยุบเป็นแอ่ง
  3. พระเนตรซ้ายองค์พระจะโปนนูน
  4. ในร่องพระกรรณขวาองค์พระจะมีเส้นขนาน ๒ เส้น
  5. พบบ่อยๆปลายหูขวาองค์พระจะเป็นบั้งแหลมแทงขึ้นแบบปลายชฎา
  6. ในองค์พิมพ์ติดชัดๆ จะมีเส้นในซอกแขนซ้ายองค์พระ ๒ เส้นวิ่งจรดลำพระองค์
  7. ในองค์ที่พื้นผิวติดชัดๆ จะเห็นเส้นทิว ๒ เส้นแผ่วเหนือพระหัตถ์
  8. พบบ่อยๆปลายพระหัตถ์จะมีติ่งยื่นออกมาเล็กน้อย

พระซุ้มกอพิมพ์มีกนก

ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า "เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมายเป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนกขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำกรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง

ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑลที่ครอบเศยรองค์พระเป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า "พระซุ้มกอ "

พระกำแพงซุ้มกอสันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัยพระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสันนั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนกเป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียดไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่ายเหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามามีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ

ตำหนิเอกลักษณ์

  1. พระเกศเป็นเกศปลีปลายแหลมสอบเข้า
  2. พระเนตรรีลอยอยู่ในเบ้า
  3. พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
  4. พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
  5. ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
  6. กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
  7. สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
  8. ซอกแขนลึก
  9. ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
  10. พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย

พระนางพญา

พระนางพญาเป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเปญจภาคีอีกทั้งยังฝังจมดิน ซึ่เป็นดินเหนียวริมน้ำเป็นเวลานานนับร้อยปีเนื้อพระจึงรักษาสภาพความแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือมวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระเพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว

ตำหนิเอกลักษณ์

  1. ระเกศเหมือนปลีกล้วย
  2. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
  3. หน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบหรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ
  4. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
  5. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระจะแตกเป็นหางแซงแซว
  6. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
  7. จะมีเม็ดผดขึ้นอยู่ระหว่างเส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
  8. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
  9. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
  10. พระหัตถ์ที่วางบนเข่าจะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุช่อแฮ (ปีขาล)


๓. เจดีย์พระธาตุช่อแฮ (ปีขาล)

รายละเอียด : พระธาตุช่อแฮตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเตี้ยๆ จากรูปแบบสถาปัตยกรรมในวัดบ่งบอกว่ามีอายุราว พ.ศ. 1900 แต่ตำนานพระธาตุได้เล่าประวัติอันเก่าแก่ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอยโกสิยธชัคคะบรรพต และพบกับเจ้าลาวนามลัวะอ้ายค้อม เมื่อขุนลัวะทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นำภัตตาหารมาถวาย พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่าที่นี่ต่อไปจะมีเมืองชื่อเมืองแพร่ ในครั้งนั้นพระอรหันต์และพระยาอโศก ที่เสด็จมาด้วยได้ทูลขอพระเกศาธาตุมอบให้ขุนลัวะไปบรรจุโกศแก้ว แล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออกของดอยที่ประทับ และพระพุทธเจ้าทรงมีรับสั่งว่า หลังจากที่พระองค์ปรินิพานแล้วให้นำพระธาตุข้อศอกข้างซ้ายมาประดิษฐานที่นี่ นามของพระบรมธาตุเจดีย์นี้มีเรื่องเล่าว่า มาจากที่ขุนลัวะ นำผ้าแพรมารองรับพระเกศาธาตุ จึงมีชื่อว่า ช่อแพร และเพี้ยนเป็น ช่อแฮ ในภายหลัง แต่บ้างก็ว่ามีชาวบ้านนำผ้าแพรอย่างดีมาผูกบูชาองค์พระธาตุงานมนัสการพระ ธาตุจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นงานประจำปีที่สำคัญของชาวเมืองแพร่ ในงานมีการแห่ตุงหลวงถวายแด่องค์พระธาตุและการแสดงมหรสพ
คำบูชาพระธาตุ : โกเสยยะ ธะชัคคะ ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม พุทธะเกสาธาตุ ปะติฏฐิตา อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

18 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุลำปางหลวง (ปีฉลู)


๒. เจดีย์พระธาตุลำปางหลวง (ปีฉลู)

รายละเอียด : วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดเก่าแก่ของ เมืองลำปาง เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกเสด็จถึงหมู่บ้านสัมภาการีวัน ลัวะชื่ออ้ายคอนได้นำน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้พางและมะพร้าวมาถวาย พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ว่า ที่นี่จะมีนครชื่อ ลัมพาง และได้มอบพระเกศาธาตุให้ลัวะอ้ายคอนนำไปประดิษฐาน ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพาน พระอรหันต์ได้นำพระธาตุหน้าผากและพระธาตุลำคอมาประดิษฐานที่นี่ พระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่กลางเวียงโบราณ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเวียงทางศาสนาโดยเฉพาะ ภายในวัดมีสิ่งน่าชมมากมาย ได้แก่ วิหารพระพุทธ เป็นวิหารไม้แบบล้านนา ที่ตกแต่งด้วยลายคำ คือลายทองบนพื้นแดง และภายในสามารถเห็นภาพเงาพระธาตุที่ลอดผ่านรูผนังปรากฏบนผืนผ้า วิหารน้ำแต้ม เป็นวิหารโถงมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่ของล้านนา วิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานซุ้มพระเจ้าล้านทอง พระพุทธรูปองค์สำคัญของวัด และมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ และชาดก ที่เขียนในราวสมัยรัชกาลที่ 5 หอพระพุทธบาท เป็นอีกแห่งที่ปรากฏภาพเงาพระธาตุ แต่ห้ามมิให้ผู้หญิงขึ้น และที่หอพระแก้ว ประดิษฐานพระแก้วจากวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระพุทธรูปคู่เมืองลำปาง
คำบูชาพระธาตุ : ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวา จิรัง ปะติฏฐิตา ลัมภะกัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา อุตตะราภิเธยยา นะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง กุมาระกัสสะปัง นะลาตะธาตุโย เมฆิยะมะหาเถระ กัณณนะธาตุ ฐะเปติมะหาฐาเนเจติยัง ปูชิตา นะระ เทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุ

17 พฤศจิกายน 2553

พระธาตุประจำปีเกิด เจดีย์พระธาตุศรีจอมทอง (ปีชวด)


 ๑. เจดีย์พระธาตุศรีจอมทอง (ปีชวด)
รายละเอียด : พระบรมธาตุเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนยอดจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ส่วนพระเศียรเบื้องขวา ความพิเศษแตกต่างจากที่อื่นคือ เป็นพระบรมธาตุที่มิได้ฝังใต้ดิน แต่ประดิษฐานอยู่ในกู่ภายในวิหาร สามารถอัญเชิญมาสรงน้ำได้ ตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยนี้ และทรงพยากรณ์ว่าที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระทักขิณโมลีธาตุของพระองค์ในภาย หน้า ต่อมาราวปี พ.ศ.1995 นางเม็งและนายสอยได้พบพระบรมธาตุ จึงได้ก่อพระเจดีย์และสร้างเสนาสนะที่ดอยต้นทอง คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดจอมทอง ในสมัยพระแก้วเมือง (พ.ศ.2038- พ.ศ.2068) กษัตริย์องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์มังราย ได้สร้างวิหารจัตุรมุข ภายในมีมณฑปปราสาทเพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ เจ้าเมืองเชียงใหม่หลายพระองค์ได้อัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทองไปยังเมือง เชียงใหม่ เพื่อทำการสักการะ โดยมีวัดต้นเกว๋นที่ อ.หางดง เป็นวัดที่หยุดพักขบวนแห่พระบรมธาตุเข้าเมืองในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 มีพิธีแห่พระบรมธาตุไปบูชาข้าวที่อุโบสถและให้พุทธศาสนิกชนได้สรงน้ำ โดยจะมีการกล่าวบทอัญเชิญ และใช้ช้อนทองคำเชิญพระธาตุจากผอบมาประดิษฐานในโกศแก้วที่ตั้งบนพานเงิน ตามธรรมเนียมเดิมควรนำน้ำจากแม่น้ำกลาง เจือน้ำหอมหรือแก่นจันทร์มาใช้สรง หรือจะเป็นน้ำสะอาดเจือของหอมก็ได้
คำบูชาพระธาตุ : อะหัง นะมามิ ติโลกะโมลี ติโลภัสสะ ภะคะวะโต ทักขิณโมลี ปะติฏฐิตัง ภะคะวะโต อะธิษฐานะพะเลนัฏฐิตัง โลหะกูเฏ พุทธะนิ อังคะรัฏฐะ กิตติมันตัง มะโนหะรัง โลกานัง สัพพะโลเกหิปูชิตัง อามิสะปะฏิปัตติวาสะนะ สัพพะทา

พระหูยาน ลพบุรี ชินเงิน กรุลพบุรี



พระหูยานลพบุรีองค์นี้เนื้อชินเงิน พิมพ์หลังตัน เป็นพระแท้ หายาก สภาพสวยสุด ๆ (เนื้อหาระเบิดในตัว) มีคราบกรุฝัง เกาะจับ ติดแน่น ดูง่ายมาก เป็นธรรมชาติ
ติดต่อ บัญชา 0851885160
chaty999@gmail.com






ดูความชัด ของเนื้อชินเงิน














การรับประกันและนโยบาย

- เรารับประกันพระแท้ ตลอดชีวิตของท่าน

- ในกรณีพระที่ท่านได้รับแล้วนำไปตรวจสอบเป็นพระเก๊ เรายินดีคืนเงินโดยหักค่าธรรมเนียม 500 บาท ทุกรายการ

- เราไม่สนับสนุนแก๊งค์มิจฉาชีพทุกชนิด ในกรณีรับพระเราไปแล้ว เปลี่ยนพระของเรา เราจะไม่ซื้อขายกับท่านอีก พร้อมกับขึ้นบัญชีดำ ห้ามซื้อขายด้วยครับ

- ในกรณีพระชุดหลัก (หลักแสนขึ้นไป) กรุณามาติดต่อที่บ้านด้วยตัวท่านเอง หรือจะนำเซียนพระ ที่ท่านไว้ใจมาตรวจสอบด้วยก็ได้ หากรับพระไปแล้ว เราไม่รับพระคืนทุกกรณี เนื่องจากพระที่ท่านเช่าไปได้ถูกเปลี่ยนมือไปแล้ว ยากต่อการตรวจสอบครับ

- เราไม่สนว่าท่านจะมีเงินมากหรือน้อย แต่หากท่านสนใจ ทุก ๆ ท่านเท่าเทียมกันด้วยศักดิ์ศรีและความซื่อสัตย์ครับ กรุณาเคารพกฎกติกาของทางเราทุกกรณีด้วยครับ

ข้าพเจ้า ในฐานะผู้นิยม และอนุรักษ์พระเครื่องไท และมีความเคารพในวัตถุมงคลทุก ๆ ชิ้นที่เอาออกให้ลูกค้าทุก ๆ ท่าน ได้บูชา ไม่ได้เล่นเพื่อธุรกิจ ไม่มีการตกแต่งพระ หรือหลอกขายพระแก่ผู้มีความศรัทธากินไปวัน ๆ เรามีความรับผิดชอบทุกกรณีในพระของเรา ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจ และติดต่อค้าขายกับเรา

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง

บัญชา ผู้นิยม และอนุรักษ์พระเครื่องไทย

16 พฤศจิกายน 2553

พระเครื่องเบญจภาคี


พระเครื่องประเภทมหสนิยมที่พุทธศาสนิกชนไทย เคารพสูงสุดและมักนำติดตัวไปในที่ต่างๆ เพื่อให้คุ้มกัน และคุ้มครองตน 5 ชนิดคือ
1. พระสมเด็จพุฒาจารย์(โต) หรือ พระสมเด็จฯ
2. พระนางพญา
3. พระรอด
4. พระกำแพงทุ่งเศรษฐี หรือ พระซุ้มกอ
5. พระผงสุพรรณ


พระเครื่องทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมานี้รวมเรียกว่า "องค์เบญจภาคีแห่งพระเครื่อง" โดยที่มี

พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นองค์ประธาน ทรงคุณวิเศษทางมหานิยมและมหิทฤทธิ์ สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระนางพญา เป็นองค์ประกอบภาคขวาอันดับแรก ทรงคุณวิเศษคล้ายกับพระสมเด็จฯ แต่หนักไปในทาง มหิทฤทธิ์ มากกว่าพระสมเด็จฯ เล็กน้อย สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระรอด เป็นองค์ประกอบภาคซ้ายอันดับแรก ทรงคุณวิเศษทางมหิทฤทธิ์ แคล้วคลาด และมหานิยม สร้างในสมัยศรีวิชัย

พระกำแพงทุ่งเศรษฐีหรือพระซุ้มกอ เป็นองค์ประกอบภาคขวาอันดับรอง ทรงคุณวิเศษทางเกื้อกูล ลาภยศเงินทอง คงกระพัน และมหานิยมสร้างในสมัยสุโขทัย

พระผงสุพรรณ เป็นองค์ประกอบภาคซ้ายอันดับสอง ทรงคุณวิเศษทางหลักทรัพย์ เป็นสื่อทางโชคลาภ และหนักไปทางคงกระพันแคล้วคลาด มากกว่าพระกำแพงทุ่งเศรษฐี สร้างในสมัยอู่ทอง

สำหรับ พระสมเด็จพุฒาจารย์ พระนางพญา และพระรอดนั้น ได้รับการยกย่องว่าเป็น "องค์ไตรภาคีแห่งพระเครื่อง" โดยมีพระสมเด็จพุฒาจารย์ เป็นองค์ประธานเช่นเดียวกันกับ องค์เบญจภาคีแห่งพระเครื่อง

พระธาตุประจำปีเกิด

พระธาตุประจำปีเกิด 12 ปีนักษัตร
ตำนานการบูชาพระธาตุ : คำว่า พระธาตุ มีความหมายสองนัยคือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และสถานที่หรือพระเจดีย์ที่มีพระบรมธาตุบรรจุ โดยแต่ละแห่งจะมีตำนานที่เล่ามูลเหตุการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งสัมพันธ์กับการเสด็จโปรดสัตว์ของพระพุทธเจ้าในดินแดนต่างๆ สถานที่ที่มีพระบรมธาตุเจดีย์เหล่านี้ มักจะกลายเป็นเมืองสำคัญในเวลาต่อมา
ลักษณะพระบรมธาตุ : ลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุที่บรรยายไว้ใน ตำนานมีลักษณะเหมือนถั่วแตก หรือข้าวสารหัก หรือเมล็ดพันธุ์ผักกาด กลมเกลี้ยงขนาดเท่าเม็ดพุทรา มีสีทองอุไร สีแก้วผลึก หรือแก้วมุกดา สีดอกพิกุล บางองค์มีรูทะลุได้ตามปกติจะบรรจุพระบรมธาตุไว้ใต้ฐานเจดีย์ หรือเรือนธาตุ โดยส่วนใหญ่ไม่สามารถนำออกมาได้ เว้นแต่พระธาตุศรีจอมทอง และนอกจากการบูชาพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีการบูชาพระธาตุของพระอรหันต์หรือพระสาวกด้วย
คติการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด : ในสังคมไทย ความเชื่อเรื่องปีนักษัตรที่สัมพันธ์กับปีเกิด และการนับอายุของแต่ละคน เป็นที่รับรู้กันแพร่หลาย ในแต่ละปีนักษัตร จึงกำหนดด้วยสัญลักษณ์เป็นสัตว์ประจำปีเกิด หรือที่เรียกว่า 12 นักษัตร สำหรับในดินแดนภาคเหนือของไทย ความเชื่อเรื่องปีนักษัตรยังสัมพันธ์กับคติการบูชาพระบรมธาตุ ดังปรากฏเป็นประเพณีการชุธาตุหรือการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด โดยครั้งหนึ่งในชีวิตควรมีโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตน เพื่อความเป็นสิริมงคล
การบูชาพระบรมธาตุ : สมัยโบราณมักจะบูชาพระบรมธาตุด้วยเครื่อง หอมและข้าวตอกดอกไม้ ตามปกติแล้วจะสรงพระธาตุด้วยน้ำสะอาด อาจเจือด้วยน้ำหอม เนื่องจากพระบรมธาตุส่วนใหญ่บรรจุอยู่ใต้ฐานพระเจดีย์ การสรงน้ำจึงกระทำโดยการราดน้ำไปบนองค์พระเจดีย์ พระธาตุบางองค์จะต้องใช้น้ำจากแหล่งพิเศษ อย่างเช่น การสรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง ใช้น้ำจากแม่น้ำกลางเจือด้วยน้ำหอมหรือแก่นจันทน์กล่าวได้ว่าคติการบูชาพระ ธาตุปีเกิดและตำนานที่เกี่ยวข้องสะท้อนถึงการแพร่กระจายของพุทธศาสนาในดิน แดนไทยมาแต่โบราณ นอกจากนี้การสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ยังสัมพันธ์กับการเกิดชุมชนเมืองต่างๆ อันก่อให้เกิดคติความเชื่อและวัฒนธรรมร่วมกันของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ โดยเฉพาะในภาคเหนือของไทยที่มีกลุ่มชนมากมายอาศัยอยู่ โดยมีพระบรมธาตุเจดีย์และสิ่งสำคัญทางพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางแห่งจิตใจการ เดินทางท่องเที่ยวไหว้พระธาตุปีเกิดมีความสะดวกอย่างยิ่ง เนื่องจากพระธาตุส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ จึงสามารถจัดเส้นทางสำหรับไหว้พระธาตุในจังหวัดใกล้เคียงได้ เช่น เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง หรือ เชียงราย-น่าน-แพร่ เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้อิ่มใจในบุญกุศล ทว่ายังได้ชมศิลปะและสถาปัตยกรรมอันงดงามของแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย