19 พฤศจิกายน 2553

ตำหนิเอกลักษณ์ พระเครื่องเบญจภาคี


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
  1. พระเกศค่อนข้างเขื่อง
  2. พระพักตร์เกือบกลมพระกรรณขวามักติดรำไรเห็นเป็นลำโค้ง จรดบ่า
  3. มีลำพระศอ
  4. ยอดซอกแขนซ้ายองค์พระจะสูงกว่ายอดซอกแขนขวา
  5. รอยจีวรที่พาดจากแขนลงมาที่เข่า
  6. เข่าแม้จะสึกเลือนแต่ยังคงเห็นร่องรอยการทับซ้อนของเข่าซ้ายเหนือเข่าขวา
  7. โปรดสังเกตเส้นแซมใต้หน้าตัก
  8. ฐานชั้นกลางเปนฐานขาสิงห์ขอบบนจะนูนและพับเข้า


พระรอดพิมพ์ใหญ่

พระรอดได้ชื่อว่าเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในกระบวนพระเครื่องเมืองไทย มีอายุราว 1 พันปี ซึ่งพระนางจามเทวีพระธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ผู้เสด็จขึ้นไปครองเมืองลำพูนเป็นผู้โปรดให้สร้างขึ้นบรรจุในวัดมหาวันพระรอดเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี พบที่กรุวัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพระคง พระบางและพระเปิม คำว่า "รอด" เป็นภาษาเหนือแปลว่า "เล็ก"

ลักษณะของพระรอด

เป็นพระประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย บนฐานเขียงใต้ปรกโพธิ์ ผิวพระพบบ่อยๆว่าจะเหี่ยวย่น สืบเนื่องมาจากพระคายน้ำตอนเผาไฟพระพักตร์ก้มเล็กน้อยรายละเอียดของพระพักตร์คล้ายศิลปะพม่าหรือพุกามเป็นพระศิลปะยุคเดียวกับทวาราวดีตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖

ตำหนิเอกลักษณ์
  1. พระศกคล้ายฝาชี พระเกศสั้นจิ่ม
  2. พระพักตร์สอบเสี้ยม พระเนตรโปนโตพระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์วาดโค้ง
  3. มีเส้นนำตาดิ่งจากยอดพระกรรณ ลงมาจรดใบโพธิ์
  4. ปลายพระกรรณซ้ายมือองค์พระหักวกเป็นตัววี
  5. ต้นแขนขวาขงองค์พระจะเล็กคล้ายพระคงแต่จะน้อยกว่า
  6. พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
  7. ขอบจีวรตรงอกจะนูนหนา
  8. ปลายนิ้วทั้ง ๔ จรดฐานส่วนนิ้วหัวแม่มือขวาที่พาดตักจะขาด
  9. เส้นน้ำตกใต้แขนซ้าย มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุดและในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกบางๆในแนวเดียวกัน
  10. แขนซ้ายองค์พระจะหักมุมเป็น ๒ส่วน
  11. เส้นแซมใต้ฐานอาสนะชั้นที่ ๑
  12. ฐานอาสนะมี ๓ ชั้น ชั้น ๒ และ ชั้น ๓ บางทีติดกันโดมีร่องตื้นๆขั้นกลาง
  13. รอยกดพับที่ก้นฐานและมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากการดันพระออกจากพิมพ์
  14. ในพระรอดพิมพ์ใหญ่ จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆปรากฎอยู่

พระผงสุวรรณพิมพ์หน้าแก่

  1. พระเกศเป็นหน่อคล้ายหมวกฤาษี
  2. พระเนตรขวาองค์พระจะยุบเป็นแอ่ง
  3. พระเนตรซ้ายองค์พระจะโปนนูน
  4. ในร่องพระกรรณขวาองค์พระจะมีเส้นขนาน ๒ เส้น
  5. พบบ่อยๆปลายหูขวาองค์พระจะเป็นบั้งแหลมแทงขึ้นแบบปลายชฎา
  6. ในองค์พิมพ์ติดชัดๆ จะมีเส้นในซอกแขนซ้ายองค์พระ ๒ เส้นวิ่งจรดลำพระองค์
  7. ในองค์ที่พื้นผิวติดชัดๆ จะเห็นเส้นทิว ๒ เส้นแผ่วเหนือพระหัตถ์
  8. พบบ่อยๆปลายพระหัตถ์จะมีติ่งยื่นออกมาเล็กน้อย

พระซุ้มกอพิมพ์มีกนก

ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า "เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมายเป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนกขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำกรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง

ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑลที่ครอบเศยรองค์พระเป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า "พระซุ้มกอ "

พระกำแพงซุ้มกอสันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัยพระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสันนั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนกเป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียดไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่ายเหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามามีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ

ตำหนิเอกลักษณ์

  1. พระเกศเป็นเกศปลีปลายแหลมสอบเข้า
  2. พระเนตรรีลอยอยู่ในเบ้า
  3. พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
  4. พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
  5. ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
  6. กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
  7. สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
  8. ซอกแขนลึก
  9. ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
  10. พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย

พระนางพญา

พระนางพญาเป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเปญจภาคีอีกทั้งยังฝังจมดิน ซึ่เป็นดินเหนียวริมน้ำเป็นเวลานานนับร้อยปีเนื้อพระจึงรักษาสภาพความแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือมวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระเพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว

ตำหนิเอกลักษณ์

  1. ระเกศเหมือนปลีกล้วย
  2. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
  3. หน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบหรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ
  4. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
  5. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระจะแตกเป็นหางแซงแซว
  6. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
  7. จะมีเม็ดผดขึ้นอยู่ระหว่างเส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
  8. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
  9. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
  10. พระหัตถ์ที่วางบนเข่าจะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น