23 มกราคม 2554

ประวัติหลวงพ่อเงิน


หลวงพ่อเงิน เป็น บุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน บิดาขื่อ อู๋ มารดาชื่อ นางฟัก สมัยเป็นเด็กหลวงพ่อเงินติดตามลุงชื่อ นายช่วง มาอยู่กรุงเทพ และบวชเป็นสามเณรที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เมื่อราวอายุ 12 ขวบ หลังจากบวชเณรอยู่ประมาณ 8 ปี ได้ลาสึกจากสามเณร กลับมาอยู่ที่บ้านบางคลาน

ช่วงชีวิตที่บวชเรียนนี่เองเชื่อว่าท่านได้ซึมซับพระธรรมคำสอนไว้อย่าง ลึก ซึ่ง เพราะปรากฎว่าท่านไม่ปรารถนาเพศฆราวาส ท่านเกือบจะแต่งงานกับสาวชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ “เงิน” เหมือนกัน แต่ท่านทำบางอย่างที่ไม่คาดคิดนั่นคือ ได้ขออนุญาติจับอกพี่สะใภ้ เพื่อเปรียบเทียบกับน่องของตัวเอง จนเกิดปลงต่อสังขารโดยท่านอุทานออกมาว่า “นมกับน่องก็คือกันไม่เห็นจะต่างกันตรงไหนเลย” แล้วท่านก็ตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝากชีวิตไว้กับพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต เป็นการตัดสินใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง เล่ากันว่าระหว่างนั้นหญิงสาวคู่รักท่านได้ปักตาลปัตร 1 เล่มมาถวายด้วยแต่ก็มิได้ทำให้ท่านเปลี่ยนใจ


พระภิษุเงิน พุทธโชติ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาความรู้ด้านวิปปัสสนากรรมฐานแล้วอักขระสมัยที่วัดตอง ปู (วัดชนะสงคราม) อีกครั้ง ได้อยู่ที่วัดตองปู 3 พรรษา ก่อนจะกลับมาที่บางคลานเมื่อทราบว่าปู่ของท่านป่วยหนัก เมื่อกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดท่านได้จำพรรษาที่ (วัดคงคาราม) หรือวัดบางคลานใต้ ที่วัดบางคลานใต้นี้จะเกิดอะไรมิทราบได้มีสมภาพชื่อ “หลวงพ่อโห้” หรือ “พระอาจารย์โห้” ท่านเป็นพระนักเทศน์ ซ้อมเทศน์ชาดกเสียงดัง พลวงพ่อเงินท่านเป็นพระวิปัสสนากรรมฐาน จึงติดสินใจไปอยู่ที่วัดวังตะโกซึ่งอยู่ตรงข้ามฟากแม่น้ำเลยขึ้นไปทางเหนือ หลวงพ่อเงินท่านคงอึดอัดใจมาก เล่าว่าท่านบ่นให้คนใกล้ชิดฟังว่า “ชาติเสือไม่ขอเนื้อใครกิน” แล้วก็หักกิ่งโพธิ์กิ่งหนึ่งติดตัวไปด้วยไปถึงบริเวณวัดวังตะโกแล้วก็อธิฐาน เสี่ยงบารมีปักกิ่งโพธิ์ลงไป ปกติตันโพธิ์จะไม่ขึ้นจากกิ่งแต่ประกฎว่ากิ่งที่ท่านอธิษฐานเจริญเติบโตงอก งาม อยู่คู่กับวัดวังตะโกหรือวัดบางคลานยาวกว่าหนึ่งร้อยปีเลยทีเดียว

เนื่องจากท่านเป็นพระที่เคร่งทางวิปัสสนา จึงมีคนเคารพนับถือมาก และชาวบ้านก็มาขอเครื่องรางของขลังจากท่านมิได้ขาด บางคนก็มาเพื่อให้รักษาโรคภัยไขเจ็บซึ่งท่านก็ช่วยอนุเคราะห์ให้ ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาในที่สุด

ท่านมีความเมตตาอารีต่อคนทั่วไป ใครมาหาก็ได้ต้อนรับเสมอ ชาวบ้านเอาสัตว์มาถวายท่าน
ท่านก็รับไว้จนบริเวณวัดกลายเป็นสวนสัตว์ย่อม ๆ เท่าที่สืบทราบมา ท่านรักช้างของท่านมาก และเคยใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไปบวชลูกหลานให้ชาวบ้านอยู่เสมอ

ท่านให้ความร่วมมือในการก่อสร้างวัดต่าง ๆ เสมอเมื่อมีผู้มาขอให้ท่านช่วยเหลือด้วยบารมีของท่าน เมื่อออกปากขอร้องชาวบ้านก็ได้ผลทุกครั้ง งานใหญ่โตเท่าใดก็สำเร็จได้ พระวัดอื่นจึงมาพึ่งบารมีของท่านอยู่เสมอถ้าต้องการให้การก่อสร้างที่ค้างคา อยู่สำเร็จโดยเร็ว

แม้ท่านจะอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงแต่ก็มีเจ้านายผู้ใหญ่ไปหาท่านเสมอ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากับ พระยาวขิรญาณวโรรสก็เคยไปที่วัดท่านและพำนักอยู่ทำท่านหลายวัน แม้แต่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เคยไปถวายตัวเป็นศิษย์ของท่าน



หลวงพ่อเงินท่านมีอายุยืนมาก เมื่อสอบประวัติเกี่ยวกับวันเกิด แล้วท่านน่าจะมีอายุถึง 114 ปีมิใช้ 107 ปี อย่างที่หนังสืออื่น ๆ เขียนไว้ รูปของท่านในสมัยก่อนบางรูปก็ยังระบุไว้เด่นชัดว่าท่านมีอายุ 111 ปี แล้วในขณะนั้นท่านก็ยังมิได้สิ้นชีวิต ฉะนั้นการที่อายุของท่านจะยืนยาวถึง 114 ปี จึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้อย่างยิ่ง

ท่านมรณภาพเมื่อวันศุกร์แรม 11 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ. 2462 และตรงกับวันเกิดของท่านพอดี คือ วันศุกร์เดือน 10 แต่วันเกิดกับวันมรณภาพห่างกันถึง 100 ปีเศษ

พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆ มีด้วยกัน 7 วัดคือ
          1. วัดวังตะโก หลวงพ่อเงินสร้าง มีทุกๆ พิมพ์ พระอาจารย์แจ๊ะสร้างพิมพ์พระผงแบบจอบเล็ก
          2. วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกๆ พิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้างมีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับมีตัว ช. เพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น
          3. วัดหลวง หลวงพ่อเงินหอมสร้างมีพระพิมพ์ต่างๆ ประเภทเนื้อดินล้วน มีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์สังกัจจายน์
          4. วัดขวาง หลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์
          5. วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม ไข่ปลา จอบเล็ก และเนื้อดินมีทั้งนั่ง,นอน,ยืน
          6. วัดบางมูลมาก พระครูพิทักษ์ศัลคุณ (น้อย) กับหลวงพ่อพิธ สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบใหญ่ ไข่ปลา จอบเล็ก
          7. วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด)สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วมีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยมเนื้อดินด้วย

ประวัติการสร้างพระเครื่องและรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน (รูปหล่อ หลวงพ่อเงิน)
         ท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ขึ้นเป็นรุ่นแรกครั้งที่ 1 เนื้อทองเหลืองรูปองค์พระจะขรุขระผิวไม่เรียบร้อย ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพิมพ์ขี้ตา คณะกรรมการวัดได้ให้เช่าบูชาองค์ละ 1 บาท
 รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา
 ครั้งที่ 2 สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน โดยให้ช่างแก้พิมพ์ให้สวยงามขึ้น จึงเรียกว่าพิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ
 รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ
          เมื่อรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตาและรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ได้ จำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้ที่เคารพนับถือเลื่อมใสต่อหลวงพ่อ ต่างก็ได้รับความนิยมชมชอบ สำหรับผู้ชายสำหรับผู้หญิงและเด็กๆ ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้รูปหล่อทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวมาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดจึงได้จัดให้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ 3เป็นเหรียญหล่อไข่ปลาเรียกว่าจอบใหญ่กับเหรียญหล่อจอบเล็ก เพื่อให้ผู้หญิงและเด็กๆ ได้มีโอกาสเช่าบูชาให้ติดตัวไปได้ ปรากฏว่าเหรียญไข่ปลาและเหรียญจอบเล็กจำหน่ายดีมีความนิยมสูงมากกว่ารูปลอย องค์ เพราะเหรียญสองชนิดนี้มีห่วงอยู่ในตัวเมื่อเช่ารับจากหลวงพ่อมาแล้วก็คล้อง คอได้เลย ปัจจุปัน เหรียญหล่อจอบเล็ก หลวงพ่อเงิน และ เหรียญหล่อจอบใหญ่  หลวงพ่อเงิน มีราคาเล่นหาสูงมาก
 การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน
         จะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ช่างมิได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียว เมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมดไปเมื่อถึงงานแระจำปีปิดทองไหว้พระในเดือน 11 ของทุกๆ ปี หลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนาน ได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวัง ตะโกเป็นจำนวนมาก ท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมาตามลำดับเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อ เงิน
 การสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ
          ยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำ ช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น แล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯ
         ก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กรุงเทพฯ ทำการหล่อแล้วนำกลับมาให้หลวงพ่อได้ปลุกเสกให้ จะสร้างมากน้อยเท่าไรไม่สามารถจะทราบจำนานได้
 การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน
          เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
 องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม
องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ
 ประวัติท้ายน้ำ
          เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก และหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กัน กับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี
         ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโก แล้วคณะกรรมการวัดก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำ เหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อ เมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโด ท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและ ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล ที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่
 พระครูวัฏะสัมบัญสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงิน
          กาลต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมาก ท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็ก แล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุกเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัด ท้ายน้ำ
 พระอาจารย์ชุ่มสร้างหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ
          ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม หรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญได้จัดสร้างรูป หล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร
 ข้อระวัง
         พระหลวงพ่อเงินของพระอาจารย์ชุ่ม เวลานี้บรรดาพวกเซียนพระสมองใสทั้งหลายได้ลบตัว ช. ออก แล้วก็ยืนยันว่าเป็นพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของวัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำ ผู้ที่ดูพิมพ์ไม่ออกหลงเชื่อ
         ผู้เขียนได้พบเห็นมาหลายรายแล้วก็อดสงสารไม่ได้เพราะฉะนั้น เรื่องหลวงพ่อเงินที่มีผู้เข้าใจกันว่าวัดบางคลานนั้นความจริงแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน วัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงตำบลอำเภอที่อยู่ของวัด ปัจจุบันนี้มีวัดวังตะโกได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญาราม และอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพทะเลแล้ว
          สำหรับหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโกกับหลายพ่อเงิน วัดท้ายน้ำบาง พิมพ์ก็เหมือนกัน แต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะมิได้สร้างในคราวเดียวกัน และไม่ใช้พิมพ์บล็อกเดียวกันด้วยเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน
          ผู้เขียนขอให้ข้อคิดและแนะนำ แก่ผู้เสาะแสวงหาหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก หลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ ตลอดจนกระทั่งหลวงพ่อเงินที่พระครูวัตฏะสัมบัญจัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำจะ เป็นพิมพ์ใดก็ตาม มีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการข้อสำคัญขอให้เป็นของแท้ เพราะหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีลจารวัตรและมีสมาธิจิต อันมั่นคง โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาและวิปัสสนาธุระ ท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตร และท่านได้เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ด้วย กิตติศัพท์ของท่านเลื่องลือขจรขจายไปทั่วทุกภาคจากเหนือจดใต้จากตะวันออกจด ตะวันตกมาเนิ่นนานแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถึงแม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในความทรงจำ ศรัทธา ปรารถนาที่จะได้ของหลวงพ่อทุกๆ คนเสมอมาเพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อทุกๆ อย่าง ถ้าผู้ใดมีไว้ครอบครอง จะได้รับแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นศิริมงคล และแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงแม้แต่ชื่อของท่านก็เป็นมงคล นามอยู่แล้ว โดยเฉพาะชาวพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ คนจะเคารพบูชาและหวงแหนวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินกันมาก เมื่อมีผู้ใดมาขอเช่าในราคาแพง ผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่ยอมให้เพราะเป็นของที่หาได้ยากยิ่ง เปรียบเสมือนหนึ่งแก้วสารพัดนึกก็ว่าได้

ถ้าหลวงพ่อมีอายุยืนยายถึง 114 ปีจริง ท่านก็จะมีอายุอ่อนกว่าสมเด็จพุฒาจารย์โตอยู่เพียง 17 ปีเท่านั้น คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์สิ้นชีพตักษัยเมื่อปี พ.ศ. 2415 นั้น หลวงพ่อเงินจะต้องมีอายุถึง 67 ปีแล้ว และหลวงพ่อก็มีอายุยืนยาวต่อมาอีก 47 ปี จึงมรณภาพ นับว่าท่านอายุยืนยาวมาก วิทยาคมจึงแก่กล้าเป็นธรรมดา จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าทำไมชาวบางคลานจึงยกย่องท่านเป็นเทพเจ้าผู้ทรง ความศักดิ์สิทธิ์เป็นอมตาแห่งอำเภอโพทะเล (สมเด็จพุฒาจารย์โต ชาตะ พ.ศ. 2331 สิ้นชีพตักษัย พ.ศ. 2415)