26 ธันวาคม 2553

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ เนื้อดี ดูง่าย



สนใจติดต่อสอบถามได้ ที่ 085-1885160 คุณชา






22 ธันวาคม 2553

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ต่างๆ

พระสมเด็จวัดระฆัง ถูกจำแนกออกไปเป็น ๕ พิมพ์ใหญ่ด้วยกันคือ

๑ พิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่
๒ พิมพ์ทรงเจดีย์
๓ พิมพ์เกศบัวตูม
๔ พิมพ์ฐานแซม
๕ พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภายหลังจึง ไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน หรือที่นิยมเรียกว่า พระพิมพ์ใหญ่ เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดาพระสมเด็จวัดระฆังทั้ง ๔ พิมพ์ ด้วยความงดงามสง่าผ่าเผย ขององค์พระ และความสมบรูณ์สมส่วนขององศ์ประกอบโดยรวมขององค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด ประกอบกับจำนวนพระที่มีปริมาณเหมาะสม จึงส่งผลให้พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานนี้ นับเป็นสุดยอดของพระในตะกูลสมเด็จทั้งหมด

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูนในพระพิมพ์นี้ สามารถแยกแยะออกเป็น ๓ โครงสร้างใหญ่ด้วยกันโดยถือเอารูปร่างขององค์พระเป็นตัวกำหนด

พระพิมพ์ ๑ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา พระพักตร์ค่อนข้างกลมใหญ่ หรือเรียกว่า ( เอวหนา หน้าใหญ่ )
พระพิมพ์ ๒ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา ส่วนพระพักตร์นั้น จะเรียวอูมตรงกลางและรูปพระพักตร์นั้นยาวกว่าพิมพ์แรก หรือที่เรียกว่ารูปพระพักตร์แบบ “ ผลมะตูมใหญ่ ” ( เอวหนา หน้ากลาง )
พระพิมพ์ ๓ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์บาง คอดหายไปตรงส่วนปลายรูปพระพักตร์จะเรียวอูมรีเล็กกว่าทุกพิมพ์ที่เรียกว่า “ ผลมะตูมเล็ก ” ( เอวบาง หน้าเล็ก )

เนื่องจากแม่พิมพ์ของพระเป็นการสร้างด้วยมือ และมีหลายอัน จึงทำให้เกิดรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ยังคงเค้าโครงหลักดังกล่าวมาแล้ว ถึงกันนั้นความแตกต่างในส่วนของเค้าโครงก็มิได้มีผลต่อความแตกต่างเรื่องค่า นิยม สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในค่านิยมคือ ความสมบรูณงดงามขององค์พระ นับเป็นปัจจัยหลัก

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ นี้นับได้ว่าเป็นพระที่มีลักษณะโดยรวมของลำพระองค์ ( ลำตัว ) ขององค์พระที่หนากว่าทุกพิมพ์ และรูปทรงทั้งหมดจากพระเกศถึงฐานชั้นล่างสุด จะมีลักษณะคล้ายเจดีย์ พระพิมพ์นี้สามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ

พระพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะพบว่าส่วนของพระพักตร์ จะมีลักษณะอูมเกือบกลม ด้านข้างของพระพักตร์ จะมีเส้นพระกรรณ ( หู ) ติดอยู่ไรๆ ไม่ชัดเจนเท่าพิมพ์เกศบัวตูม สำหรับพระที่ยังคงความสมบรูณ์ และการกดในช่วงแรกของการทำ ก่อนที่แม่พิมพ์จะเริ่มลบเลือน ส่วนลำพระองค์ ( ลำตัว ) จะล่ำ เอวหนา และวงพระกร ( วงแขน ) จะสอบเข้าหาลำตัว ( วงพระกรแคบ )
พระพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีลักษณะโดยรวมผอมบางกว่าพิมพ์แรก พระพักตร์ ( หน้า ) จะเรียวกว่า ปลายพระเกศจะสั้น หลายองค์ที่พบเห็นพระเกศจะไม่จรดซุ้มด้านบน ลำพระองค์จะหนาเป็นรูปกระบอก ( แต่เว้าเอวเล็กน้อย ) ลำพระกร ( ลำแขน ) ช่วงบนจะหนาอูมแบบแขนนักกล้าม และวาดลำพระกรแคบ ( วงแขนแคบ ) มากกว่าสมเด็จทุกพิมพ์ ในพระที่มีความสมบรูณ์ จะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน

พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก หากมีความสมบรูณ์ เท่ากัน แต่พิมพ์ทรงเจดีย์เล็กอาจจะมีค่าความนิยมสูง หากความสมบรูณ์ชัดเจนมากกว่าพิมพ์เจดีย์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม เป็นพระที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองมาจากพิมพ์พระประธาน ความนิยมนับว่าใกล้เคียงพิมพ์เจดีย์ แต่ความล่ำสันขององค์พระ และปริมาณที่พบน้อยกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ จึงทำให้ลำดับความนิยมสูงกว่าทรงพิมพ์เจดีย์เล็กน้อย

สาเหตุที่เรียกพระพิมพ์นี้ว่า “ เกศบัวตูม ” นั้นเนื่องมาจากรูปพระพักตร์ของพระพิมพ์นี้ จะมีความกว้างของหน้าผาก แล้วเรียวลงมาสู่ลูกคางเล็กน้อย และจะมีความมุ่นเมาลีเหนือพระเคียร เป็นกระเปาะเล็กน้อย ก่อนที่จะถึงส่วนปลายของพระเกศคล้ายรูปดอกบัวคว่ำ ที่สำคัญจะปรากฏเส้นพระกรรณ ( หู ) ที่ยาวเกือบจรดพระอังสา ( บ่า ) แทบทุกองค์

พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูมนี้ แบ่งตามโครงสร้างของโดยรวมของลำพระองค์ได้เป็น ๒ ประเภทคือ

• พิมพ์เกศบัวตูมใหญ่ จะมีลักษณะลำพระองค์หนา บางองค์เกือบเป็นรูปทรงกระบอก พระพักตร์ใหญ่ ค่อนข้างกลม รูปของลำพระกร ( ท่อนแขน ) จะล่ำหนา
• พิมพ์เกศบัวตูมเล็ก มีลักษณะของลำพระองค์ที่เรียบบางกว่าพิมพ์แรก ( เอวคอด ) รูปพระพักตร์เกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ( คางมน ) ลำพระกร ( ท่อนแขน ) จะบางเล็ก จะเด่นของพระพิมพ์นี้คือจะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน พาดผ่านลำพระองค์โดยตลอด นับเป็นพระที่เกิดจากแม่พิมพ์ที่มีความคมลึก และรายละเอียดชัดเจนมาก}}

ค่าความนิยมของพระพิมพ์นี้ขึ้นอยู่กับความสมบรูณ์คมลึกของรายละเอียดที่รวมอยู่ในองค์ พระเป็นหลัก

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม เป็นพระที่ได้รับความนิยมรองมาจากทุกพิมพ์ที่กล่าวมาข้างต้น สาเหตุที่เรียกพิมพ์นี้ว่า “ พิมพ์ฐานแซม ” เนื่องจากมีเส้นแซมที่ใต้องค์พระกับฐานชั้นบนสุด และระหว่างฐานชั้นบนสุดกับฐานชั้นกลาง

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม สามารถแบ่งตามโครงสร้างของพระองค์ได้ ๓ ประเภทคือ

พิมพ์ที่ ๑ จะมีลักษณะรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า ) ที่อูมรีใหญ่ ลำพระองค์จะหนาเกือบเป็นทรงกระบอกจนบางองค์แทบไม่มีเส้นโค้งข้างลำพระองค์ เลย
พิมพ์ที่ ๒ จะมีลักษณะของรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า ) เรียวและอูมน้อยกว่าพิมพ์แรก ลำพระองค์ ( ลำตัว ) จะเล็กกว่าพิมพ์แรกมีเส้นเอวให้เห็นชัดเจนขึ้น พระที่กดพิมพ์ชัดเจนจะปรากฏเส้นคอให้เห็นด้วย
พิมพ์ที่ ๓ จะมีลักษณะพระพักตร์ ( ใบหน้า ) ที่เรียวยาวมากกว่าสองพิมพ์แรก เส้นพระกรรณ ( หู ) ข้างพระพักตร์จะติดชัดเจน ลำพระองค์ ( ลำตัว ) บาง เอวคอด ในพระที่มีความคมชัดจะปรากฏเส้นสังฆาฏิพาดลำพระองค์ชัดเจนมากขึ้น

สำหรับความแตกต่างในด้านค่านิยมทั้ง ๓ พิมพ์ แทบจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ความสวยงาม ความสมบรูณ์ คมชัด เป็นสิ่งที่กำหนดความแตกต่างของค่านิยมพระพิมพ์นี้

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์

• พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภายหลังจึงไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง

21 ธันวาคม 2553

การสร้างพระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม

การสร้างพระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม


เป็นที่ค่อนข้างจะเชื่อได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ท่านสร้างสมเด็จวัดระฆังของ ท่านไปเรื่อยๆ จนท่านอาจจะมีการดูฤกษ์เป็นกรณีพิเศษ แล้วท่านก็สร้างขึ้นมาท่านมีกำหนดว่าจะสร้างกี่องค์ ท่านก็สร้างขึ้นมา แต่มั่นใจว่าท่านไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เพื่อแจกไว้นานๆ

วันไหนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ กำหนดจะสร้างพระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะเอาปูนเอาส่วนผสมต่างๆ มาตำได้เนื้อพระสมเด็จมาก้อนหนึ่ง แล้วปั้นเป็นแท่งสี่เหลียม ตัดออกเป็นชิ้นๆ ในสมัยก่อนเรียกว่า ชิ้นฟัก

แล้วนำเนื้อสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ ซึ่งแกะจากหินชนวนกดเนื้อพระ กับแม่พิมพ์ให้แน่น นำเอาไม้แผ่นมาวางทับด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆัง แล้วใช้ไม้หรือของแข็ง เคาะที่ไม้ด้านหลังเพื่อไล่ฟองอากาศ และกดให้เนื้อพระสมเด็จแน่นพิมพ์

จึงจะเอาไม้แผ่นด้านหลังออก จึงปรากฏรอยกระดานบ้าง รอยกาบหมากบ้างบนด้านหลัง ขององค์สมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นจุดสำคัญและเป็นหัวใจของการดูพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม

เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพระบนพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัด ตอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ใช้มีดเพราะเป็นพระไม่ควรใช้ของมีคม วิธีตัดตอกนั้นตัดจากด้านหลัง ไปด้านหน้า โดยเข้าใจว่าในแม่พิมพ์พระสมเด็จ ที่เป็นหินชนวนนั้น จะบากเป็นร่องไว้สำหรับนำร่องการตัดตอก

เพราะพระสมเด็จวัดระฆัง บางองค์ที่ขอบมีเนื้อเกินจะเห็นเส้นนูนของร่องไว้ให้สังเกต การตัดตอกพระสมเด็จวัดระฆัง จากด้านหลังไปด้านหน้า จึงเกิดร่องรอยปรากฏ ที่ด้านข้างขององค์พระ และรอยปริแตกขององค์พระ ด้านหลังที่ลู่ไปตามรอยตอก ที่ลากลงร่องรอยต่างๆ

เมื่อผ่านอายุร้อยกว่าปีมาแล้ว การหดตัวขององค์พระสมเด็จฯ การแยกตัวของการปริแตกตามรอยตัด กลายเป็นตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆังที่ สำคัญที่สุด เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพิมพ์สร้างพระสมเด็จฯ จนหมดเนื้อแล้วก็คงหยุด คงไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต นำมาสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง แน่นอนที่สุด อันดับแรก ประกอบด้วยปูนเปลือกหอย คือเอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว

ในสมัยก่อนมีปูนเปลือกหอยมาก แต่ปัจจุบันหาไม่ค่อยมีแล้ว อันดับสอง คือส่วนผสมของน้ำมัน ตังอิ๊ว เพราะเคยเห็นมากับตา เวลาพระสมเด็จวัดระฆัง ชำรุดหักจะเห็นเป็นน้ำมันตังอิ๊ว เยิ้มอยู่ข้างในเนื้อพระเป็นจุดๆ

อันดับที่สาม มีปูนอีกชนิดหนึ่งเขาเรียกว่า ปูนหิน มีน้ำหนักมากไม่ทราบว่าทำมาจากอะไร ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตว่าตามโรงงิ้วพวกงิ้วจะเอาแป้งจากปูนหินสีขาวๆมาพอก หน้า เป็นพื้นแล้วจะติดแน่น

เอาเนื้อสามส่วนนี้เป็นหลักมาผสมกัน ยังมีมวลสารชนิดหนึ่งเป็นเม็ดสีเทาๆมองเหมือนก้อนกรวดสีเทา แต่ไม่ใช่ เพราะเนื้อนิ่มเวลาเอามีดเฉือนจะเฉือนเข้าง่าย จึงไม่ทราบว่าเป็นมวลสารอะไรและเคยเจอผ้าแพรสีเหลือง เข้าใจว่าเป็นผ้าแพรที่ถวายพระพุทธรูป แล้วเวลาเก่า หรือชำรุด แทนที่จะนำผ้าแพรที่ห่มพระพุทธรูป มีผู้คนกราบไหว้มากมายไปทิ้ง

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้นำผ้าแพรตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เอาดินสอลงอักขระเป็นอักษรไว้ แล้วผสมในมวลสารที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ก้านธูปบูชาพระ สันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงนำเอาสิ่งของที่บูชาพระทั้งหมด เมื่อกราบไหว้บูชาพระ แล้วก็ไม่ทิ้ง

นำมาตัดหรือป่นกับเนื้อที่จะสร้างสมเด็จวัดระฆัง จะเห็นเป็นเศษไม้ลักษณะก้านธูปผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่งถ้ามีเศษธูปแล้วต้องเป็นสมเด็จวัดระฆัง วัสดุอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือมีเม็ดแดงเหมือนอิฐผสมอยู่ในเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง เม็ดแดงนี้ขอยืนยันได้เลยว่า เป็นเศษเนื้อพระซุ้มกอตำให้ละเอียดแล้วผสมไว้กับมวลสารที่จะสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง

เอกลักษณ์อันสำคัญที่สุดคือเม็ดเล็กๆมีผสมค่อนข้างมาก สีขาวออกเหลือง ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า เม็ดพระธาตุ แต่คงไม่ใช่เม็ดพระธาตุเพราะถ้าเป็นเม็ดพระธาตุคงต้องใช้จำนวนมหาศาล เพราะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์จะมีเม็ดพระธาตุมาก จะไปเอาพระธาตุมาจากไหนมากมายมหาศาล

จุดเม็ดพระธาตุนี้กลายเป็นจุดสำคัญของตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆัง ที่สำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปูนหินสีขาวๆเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วจับตัวเป็นก้อน เมื่อตำผสมกับปูนขาวเปลือกหอยแล้ว ไม่กลืนกันภายหลังแยกกันเป็นเม็ดๆในเนื้อของสมเด็จวัดระฆัง

แต่บางคนก็สันนิษฐานไปว่า อาจจะเป็นปูนขาวที่ปั้นพระบูชาตามโบสถ์ เสร็จแล้วทารักปิดทอง ให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชา เป็นร้อยเป็นพันปี บางครั้งปูนขาวพองขึ้นชำรุดเสียหาย จึงต้องลอกเอาปูนขาวออกปั้นด้วยปูนขาวใหม่ ให้พระสมบูรณ์ เพื่อยืดอายุพระพุทธรูปบูชา ในโบสถ์ให้มีอายุนับพันปี

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เห็นเป็นวัสดุบูชาที่ไม่ควรจะทิ้ง จึงนำมาตำผสมไว้ในมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆัง มาจนถึงปัจจุบัน อายุของพระสมเด็จวัดระฆังร้อยกว่าปี การหดตัวของมวลสารเกิดขึ้น

วัสดุที่ต่างกัน อายุต่างกัน จึงหดตัวไม่เท่ากัน จึงเกิดรอยแยกตัวของรอบๆ เม็ดพระธาตุอย่างสม่ำเสมอ เป็นตำนานอันสำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จวัดระฆังแท้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะนำดินสอพองมาเขียนเป็นตัวอักขระ บนกระดานชนวน เสร็จแล้วก็ลบออก และเขียนอักขระใหม่แล้วก็ลบออกอีก นำเอาผงที่ลบออกมาเก็บเอาไว้ คนรุ่นเก่ารุ่นแก่เรียกว่า ผงอิทธิเจ นำมาผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จ วัดระฆังโฆษิตาราม

พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่สร้างจากเนื้อผง วิเศษ ๕ ชนิด คือ ปถมัง,อิธะเจ,มหาราช,พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ตามลำดับ การเกิดผงวิเศษทั้ง ๕ นี้ นับเป็นขบวนการหล่อหลอมพระเวทย์วิทยาคมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียว วิธีการสร้างผงวิเศษนั้นเริ่มมาจากการบริการพระคาถา เขียนสูตร ชักยันต์ด้วยชอล์คลงในกระดาษชนวน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนใหม่ทำเช่นนี้นับเป็นร้อยๆครั้ง จนเกิดเศษชอล์คจากการลบ ซึ่งถือว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการตั้งจิตบริกรรมพระเวทย์ในขณะที่ เขียนให้ครบถ้วนตามจำนวนที่พระเวทย์ในแต่ละบทกำหนดไว้ ขั้นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่มีชื่อ “ ปถมัง ”

เมื่อได้ผง “ ปถมัง ” แล้ว นำผงนี้มาปั้นเป็นดินสอ ตากแห้ง แล้วนำแท่งดินสอชอล์ดที่เกิดจากผงปถมัง มาเขียนสูตรพระเวทย์อีกบทหนึ่งเขียนแล้วลบ ทำซ้ำกันตามจำนวนครั้งที่พระเวทย์บทใหม่กำหนด จนเกิดผงชอล์ดครั้งใหม่ ที่เรียกว่า “ ผงอิธะเจ ” แล้วก็ผงอิธะเจมาปั้นเป็นแท่งชอล์ด เขียนสูตรพระเวทย์อีก เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนเช่นนี้จนได้ ผงมหาราช แล้วก็ผงมหาราช กระทำเช่นเดียวกับขั้นตอนการทำตอนการผงอื่นๆ หากแตกต่างกันที่สูตรในการเขียน อักขระเลขยันต์ และจำนวนครั้งที่ถือเป็นเฉพาะแต่ละสูตรจนได้ ผงพุทธคุณ และสุดท้ายคือ ผงตรีนิสิงเห อันเกิดจากหลอมรวมสูตรทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียวจากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) จึงนำผงวิเศษนี้มาผสมรวมกันกับเปลือกหอยที่บดหอยที่บดละเอียดอันเป็นส่วนผสม หลัก นอกจากนี้ก็จะมีข้าวสุก ดินสอพอง กล้วย โดยมีน้ำตังอิ๊วเป็นตัวประสานส่วนผสมเหล่านี้ จากนั้นจึงนำพระที่ผสมเสร็จแล้วนั้น กดลงในแม่พิมพ์ซึ่งแกะพิมพ์โดย นายเทศ แห่งช่างหล่อ

การสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นการสร้างไปแจกไป มิได้เก็บลงกรุ โดยประมาณว่ามีการสร้างถึง ๘๔ , ๐๐๐ องศ์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์

พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม

พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม


ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



การสร้างพระเครื่องไว้ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย

ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวน มากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย

ปฐมเหตุซึ่งพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับการยกย่องเช่นนั้น อาจจะเป็นด้วยรูปแบบของ พระสมเด็จ เป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบ และย่อมาจากองค์พระประธาน จากพระอุโบสถเพียงองค์เดียวเท่านั้น ปราศจากอัครสาวกซ้ายขวา องค์พระจึงดูโดดเด่นอย่างเป็นเอกรงค์ สำหรับซุ้มเรือนแก้วอันเป็นปริมณฑลนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบอย่างมาจากครอบแก้ว (ครอบแก้วพระพุทธรูป) และถึงจะเป็นรูปแบบอย่างง่ายๆ ปราศจากส่วนตกแต่งแต่อย่างใดเลย ก็ตามทีต้องยอมรับว่าเป็นความงามที่ลงตัวอย่างหาที่ติมิได้เลย

นอกจากรูปแบบอันงดงามของพระสมเด็จดังกล่าวแล้ว ศรัทธาและความเลื่อมใสของนักสะสมพระเครื่อง อันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คงจะมาจากคุณวิเศษอันเป็นมหัศจรรย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จเป็นอันดับสอง

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตเถระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ เกศ เป็นชาวบ้าน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

นอกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้สร้างปูชนียวัตถุแล้ว มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะ อันบริสุทธิ์ของชาวไทยเราอีกด้วย และโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์จากคัมภีร์ทางพุทธาคม เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์ บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ ที่เรียกว่าผงวิเศษ หรือผงพุทธคุณนั่นเอง

นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร และอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้าคำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ

ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มี ความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน

สำหรับในด้านแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตารามนั้น ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจักเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย คือเค้าโครงภายนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงเลขาคณิต เป็นการออกแบบที่ทวนกระแสความคิดสร้างสรรค์ ของคนโบราณอย่างสิ้นเชิง อาจจะพูดได้ว่า เป็นการออกแบบที่เป็นศิลปะของตนเอง อย่างบริสุทธิ์ หาได้อยู่ภายใต้ของศิลปะพระเครื่องสกุลอื่นใดไม่ ทั้งๆที่การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องได้มีมาแต่ครั้งสมัยคันธารราษฎร์ (อินเดีย) มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว

ในด้านองค์พระคงจะได้แนวคิดและแบบอย่างมาจากพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งส่วนมากจักประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เฉพาะซุ้มเรือนแก้วนั้นคงจักได้แนวคิดมาจากครอบแก้ว ซึ่งเพิ่งจะมีครอบแก้วครอบพระบูชาประจำวัด ประจำบ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ผิวทองหมองประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่มีคละคลุ้งในอากาศอีกด้วย เป็นที่เชื่อกันว่า ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น น่าจะเป็นฝีมือช่างสิบหมู่หรือฝีมือช่างหลวงนั่นเอง

พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตารามในท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯนั้น เป็นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย หาได้สร้างเป็นครั้งเดียวไม่ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะพระแต่ละพิมพ์ของท่าน เนื้อหา ตลอดจนมวลสารนั้นมีอ่อนแก่กว่ากัน ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง สีสันวรรณะก็เป็น เช่น เดียวกันทั้งสิ้น เมื่อท่านสร้างพระแต่ละพิมพ์แต่ละคราวเสร็จแล้ว ท่านจะบรรจุลงในบาตร นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านจงดีแล้ว ยังนิมนต์ให้พระเณรปลุกเสกอีกด้วย เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า เก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม